หลักการและเหตุผล
การสอนรูปภาษาแสดงมโนทัศน์ กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) และ ทัศนภาวะ (modality) (TAM) ในไวยากรณ์ไทยอาจเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับผู้สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สอนที่ไม่มีพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ภาษาไทยที่มากพอ เนื่องจากมโนทัศน์และรูปภาษาแสดงมโนทัศน์ดังกล่าวในภาษาไทยมีลักษณะที่แตกต่างไปจากภาษาอื่น ๆ ภาษาไทยแสดงมโนทัศน์ กาล การณ์ลักษณะ และทัศนภาวะผ่านชุดคำช่วยหน้ากริยา คำช่วยหลังกริยา รวมไปจนถึงคำวิเศษณ์จำนวนมาก นอกจากนี้ รูปภาษารูปหนึ่งอาจแสดงความหมายทางไวยากรณ์ได้มากกว่าหนึ่งความหมายขึ้นอยู่กับบริบทการปรากฏในประโยค การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างนี้โดยเตรียมผู้สอนภาษาไทยให้มีความเข้าใจระบบ กาล การณ์ลักษณะ และทัศนภาวะในไวยากรณ์ภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง ช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถอธิบายแนวคิดเหล่านี้ให้กับผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบมโนทัศน์สำคัญ ประเภทย่อย และกลวิธีการแสดงความหมายของมโนทัศน์ทางไวยากรณ์ กาล (tense) การณ์ลักษณะ (aspect) และทัศนภาวะ (modality) ในภาษาไทย
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบภาพรวมระบบของรูปภาษาแสดงมโนทัศน์ดังกล่าวในภาษาไทย
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบแนวทางการสร้างคำอธิบายรูปภาษาแสดงมโนทัศน์ดังกล่าวอย่างเป็นระบบ
หัวข้อการอบรม
- มโนทัศน์สำคัญ การจัดประเภท ประเภทย่อย และกลวิธีการแสดงความหมายของประเภททางไวยากรณ์ กาล การณ์ลักษณะ และทัศนภาวะ
- ลักษณะเด่นและลักษณะเฉพาะของประเภททางไวยากรณ์ กาล และ การณ์ลักษณะ ในภาษาไทย
- ลักษณะเด่นและลักษณะเฉพาะของประเภททางไวยากรณ์ ทัศนภาวะ ในภาษาไทย
- แนวทางการสร้างคำอธิบายระบบการแสดงความหมายประเภททางไวยากรณ์ กาล การณ์ลักษณะ และทัศนภาวะ
วิธีการอบรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ (บรรยายและฝึกปฏิบัติ)
ระยะเวลาในการอบรม
2 วัน รวมเป็นจำนวน 12 ชั่วโมง
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ผู้สอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติหรือผู้สนใจทั่วไป จำนวนไม่เกิน 35 คน
ค่าลงทะเบียน
อบรมในห้องเรียน : คนละ 4,000 บาท
อบรมออนไลน์ผ่าน Zoom : –
หนังสือสำคัญ
สถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะออกหนังสือสำคัญให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการอบรมได้ที่นี่

