หลักการและเหตุผล
การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรองเป็นเรื่องหนึ่งที่ได้กำหนดการเรียนการสอนไว้ตามหลักสูตรและได้มีการจัดประกวดทั้งในระดับหน่วยงานและระดับชาติเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการเรียนในด้านภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านการรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ ก้าวทันโลกและเหตุการณ์ปัจจุบัน นอกจากนั้นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแต่งคำประพันธ์ก็สามารถนำไปต่อยอดในเรื่องอื่น ๆ ได้ แต่หากกล่าวถึงการเขียนร้อยกรองในบริบทการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนก็อาจจะเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับครูผู้สอน ทั้งเรื่องกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนให้เข้าใจบทเรียน การเข้าใจฉันทลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เทคนิควิธีการการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน รวมถึงการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาไทยเพื่อการประกวดแข่งขันในระดับต่าง ๆ จึงจัดให้มีการฝึกอบรมความรู้ระยะสั้นนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษา และต่อยอดทางภาษาไทยด้านอื่น ๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนร้อยกรองชนิดต่าง ๆ ที่ใช้สอนในชั้นเรียน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนร้อยกรองชนิดต่าง ๆ ที่ใช้สอนในชั้นเรียน
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำเทคนิค และวิธีการการเขียนบทร้อยกรองไปฝึกนักเรียนเพื่อการประกวดแข่งขัน
หัวข้อการอบรม
- กลวิธีการแต่งร้อยกรองประเภทต่าง ๆ (กาพย์ยานี 11/ กาพย์ฉบัง 16/ โคลงสี่สุภาพ และกลอนสุภาพ)
- เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรองในชั้นเรียน
- เทคนิคการฝึกนักเรียนเพื่อการประกวดแข่งขันการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสดและกลอนกระดาษ (เน้นการเขียนกลอนสุภาพ หรือกลอนแปด)
วิธีการอบรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ (บรรยายและฝึกปฏิบัติ)
ระยะเวลาในการอบรม
1 วัน รวมเป็นจำนวน 3 ชั่วโมง
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ครู อาจารย์ที่สอนภาษาไทย และผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการเขียนร้อยกรอง จำนวนไม่เกิน 35 คน
ค่าลงทะเบียน
อบรมในห้องเรียน : –
อบรมออนไลน์ผ่าน Zoom : คนละ 800 บาท
หนังสือสำคัญ
สถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะออกหนังสือสำคัญให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมที่มีเวลาฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการอบรมได้ที่นี่

